การประชุมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

      สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้จัดการประชุมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี

        1. ประเด็นในการมีส่วนร่วม

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จัดการประชุม “ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ โครงการบูรณาการการมีส่วนร่วมมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” เพื่อรับทราบและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ความต้องการ รวมถึงเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของชุมชนในพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมอินทผาลัม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์


        2. สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

        เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมอินทผาลัม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน ประกอบด้วย มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน โดยนายวิศิษฐ์ เบญจพิทักษ์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานการประชุม ร่วมด้วยตัวแทนหน่วยงานภายนอกได้แก่ ตัวแทนจากสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และพัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับตัวแทนจาก 6 คณะและสถาบันวิจัยและพัฒนา


        3. ผลจากการมีส่วนร่วม 

        สถาบันวิจัยและพัฒนาได้รวบรวมผลสรุปความต้องการจากการประชุมเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานโครงการบูรณาการการมีส่วนร่วมมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีประเด็นความต้องการดังนี้      

  • – การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร/การอบแห้ง
  • – การขาดเทคโนโลยีการย้อมผ้าด้วยเครื่องทุนแรงของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้า
  • – เสนอแนะให้มหาวิทยาลัยกำหนดหน่วยงานสำหรับด้าน OEM เพื่อจด อย.
  • – การส่งเสริมสินค้า OTOP ของผู้ประกอบการ
  • – สนับสนุนเครื่องมือให้กับผู้ประกอบการมิติเส้นใยกัญชง
  • – สนับสนุนด้านเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์และกลุ่มท่องเที่ยวเชิงพื้นที่
  • – ความต้องการสนับสนุนด้านการตลาดโปรเจคตลาดยักษ์แคระที่อำเภอศรีเทพ
  • – เครื่องตรวจสารตกค้างสารเคมีในกลุ่มปลูกผักของสินค้าเกษตร
  • – การตรวจสารพิษตกค้าง เน้นโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม  ตรวจเชื้อรา แบคทีเรีย ในอาหาร
  • – พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน รูปแบบประชาสัมพันธ์ และการทำตลาดออนไลน์ให้กับชุมชน
  • – คณะไปยกระดับสินค้าเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนและให้ชุมชนมีรายได้
  • – พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอน ทุกระดับชั้น
  • – ปรับตัวให้เกิดผลิตภัณฑ์ผ่านครูลงสู่นักเรียนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ลงสู่ชุมชน ภายใต้ BCG
  • – สนับสนุนบริการวิชาการด้านเกษตร และเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
  • – สนับสนุนหาโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชนในการแก้ปัญหา
  • – การดูแลสุขภาพการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วย

Loading Images


4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้นำผลสรุปความต้องการ จากการประชุมดังกล่าวมาปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนำกิจกรรมภายใต้โครงการไปดำเนินให้เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและศาสตร์องค์ความรู้ทั้ง 6 คณะ เพื่อลงพื้นที่ให้บริการวิชาการให้ชุมชน เกิดการพัฒนาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน โดยกำหนดกิจกรรมภายใต้โครงการบูรณาการการมีส่วนร่วมมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้

กิจกรรมกลุ่มเป้าหมายคณะ/หน่วยงาน
การจัดการพลาสติกชุมชนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คนคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก
กิจกรรมถ่ายทอดการทำปุ๋ยโบกาฉิจากเปลือกโกโก้ประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กิจกรรมถ่ายทอดการทำภาชนะจากกาบหมาก
กิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ และสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้กับบุคคลในท้องถิ่นบุคคลในชุมชนบ้านโภชน์ จำนวน 20 คนคณะครุศาสตร์
กิจกรรมย่อยที่ 1 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเกษตรกรและประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 2 การบริหารจัดการศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด 
กิจกรรมย่อยที่ 3 การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี 
กิจกรรมย่อยที่ 4 การเก็บรักษาและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว 
กิจกรรมย่อยที่ 5 หนอนน้อยรักษ์โลก “แมลงโปรตีน BSF” 
กิจกรรมย่อยที่ 6 การเพาะเลี้ยงหอยเชอร์รี่สีทอง 
กิจกรรมย่อยที่ 7 การผลิตอาหารปลาอย่างง่าย 
กิจกรรมย่อยที่ 8 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารสัตว์ 
กิจกรรมย่อยที่ 9 การเพาะเลี้ยงไส้เดือน 
กิจกรรมย่อยที่ 10 การจัดการทรัพยากรทางการเกษตร 
กิจกรรมย่อยที่ 11 การเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อสร้างอาชีพ
อบรมเชิงปฏิบัติการช่วยพื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอสม. และประชาชน จำนวน 60 คนคณะพยาบาลศาสตร์
กิจกรรมการจัดการการบริหารแหล่งท่องเที่ยวชุมชนประชาชนทั่วไป  จำนวน 30 คนคณะวิทยาการจัดการ     
การบริหารจัดการโครงการบูรณาการการมีส่วนร่วมมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประชาชนทั่วไป จำนวน 40 คนสถาบันวิจัยและพัฒนา
รวมกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรม280 คน 

Loading Images

Similar Posts