50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6: “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6: “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย ได้เปิดรับบทความวิชาการเพื่อนำเสนอภายในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6: “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในระหว่างวันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2566 ณ เดอะบลูสกาย รีสอร์ท อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
Keynote Speaker
ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รูปแบบการจัดกิจกรรม
- การบรรยายพิเศษทางวิชาการ
- การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral Presentation)
- การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
สาขาวิชาที่เปิดรับบทความในการประชุม
- ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี
- ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ด้านการศึกษา
- ด้านเศรษฐกิจและบริหารธุรกิจ
กำหนดการ
# | รายละเอียด | ระยะเวลา |
---|---|---|
1 | เปิดรับบทความ (Full paper) พร้อมชำระค่าลงทะเบียน | ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 พ.ค. 66 (ขยายเวลา) |
2 | แจ้งผลการพิจารณาบทความ (ส่งบทความก่อน 15 พ.ค. 66) | ภายในวันที่ 15 มิ.ย. 66 |
แจ้งผลการพิจารณาบทความ (ส่งบทความหลัง 15 พ.ค. 66) | ภายในวันที่ 20 มิ.ย. 66 | |
3 | ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ (ที่ผ่านการแก้ไขแล้ว) | ภายในวันที่ 23 มิ.ย. 66 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้นำเสนอ | ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 66 |
5 | ประชุมวิชาการ | วันที่ 20-21 ก.ค. 66 |
การลงทะเบียนบทความ
1 | ลงทะเบียนบทความ ผ่านระบบ “การประชุมวิชาการระดับชาติฯ” (https://research2.pcru.ac.th/conference) |
---|---|
2 | อัตราค่าลงทะเบียน 2,000 บาท / บทความ |
3 | ชำระค่าลงทะเบียน
– ธนาคารกรุงเทพ |
บทความที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ดังนี้
1. วารสารวิทยาการจัดการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
2. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
(บทความจะได้รับการพิจารณาประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน/บทความ ซึ่งสามารถนำไปขอตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. ได้)